💰💰💰 ทำไมเงินบาทถึงอ่อนค่า 💰💰💰
เงินบาทอ่อนค่า คือการที่เงินบาทมีมูลค่าน้อยลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ ทำให้เราแลกเงินสกุลอื่นได้น้อยลง ตัวอย่างเช่น เมื่อต้นปี 2022 ค่าเงินบาท ไทย 32 บาทเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ตอนนี้เดือนตุลาคม 38 บาทเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเราเรียกว่า การอ่อนค่าของเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างแรกเลยคือ การที่ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด หมายถึงการที่ไทยมีรายจ่ายออกนอกประเทศมากกว่ารายได้เข้าประเทศ ความต้องการในการนำเงินต่างประเทศมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทก็ลดลง ทำให้เงินบาทไทยอ่อนค่าลง
อย่างที่สองคือการที่ประเทศไทยมีการฟื้นตัวที่ช้ากว่าประเทศอื่น กระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุน
และประการที่สามซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่สำคัญคือ การที่ประเทศสหรัฐอเมริกาทำการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราดอกเบี้ยประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ นักลงทุนที่ถือเงินบาทไทยจึงเปลี่ยนไปถือเงินดอลลาร์เพื่อหวังผลตอบที่สูงขึ้นแทน
โดยการขึ้นดอกเบี้ยของประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดจากการปั๊มเงินดอลล่าร์ออกมาจำนวนมากและการที่เศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกามีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วโดยดูได้จากอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และมีอัตราเงินเฟื้อที่สูงอยู่ที่ 6.7% ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve) หรือที่เรียกกันว่า FED มีแผนเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยในปีนี้ FED ได้ทำการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว 5 ครั้ง เป็นจำนวนรวม 3% โดยอัตราดอกเบี้ยสิ้นเดือนกันยายน อยู่ที่ 3.25% และ FED มีเป้าหมายขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปที่ประมาณ 4.4% ภายในสิ้นปี 2022 นี้ เพื่อลดอัตราเงินเฟื้อ ซึ่งนักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจให้ความเห็นว่าจะการที่จะลดอัตราเงินเฟื้อลงมาอยู่ที่เป้าหมาย 2% อาจต้องใช้เวลาจนถึงปี 2024
Historical interest rate by year
ซึ่งหมายความว่าค่าเงินบาทไทยจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเราสามารถวิเคราะห์ค่าเงิน ได้จากการติดตามการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ดูอัตราเงินเฟื้อของสหรัฐอเมริกา และดูอัตราการจ้างงาน ซึ่งหากเศรษฐกิจประเทศไหนแข็งแรง สกุลเงินของประเทศนั้นก็มีแนวโน้มแข็งค่าตามกลับกันหากประเทศไหนเศรษฐกิจอ่อนแอ สกุลเงินก็มีแนวโน้มอ่อนค่าตาม
Ref แหล่งข้อมูล
https://www.macrotrends.net/2015/fed-funds-rate-historical-chart
https://www.myfxbook.com/forex-economic-calendar/united-states/fed-interest-rate-decision
November 2022 > บาทกลับมาแข็งค่าเพราะอะไร
- ฝรั่งซื้อเงินไทย (ดูกราฟ Bond foreign Net But/Sell), (Equity foreign Net Buy/Sell) ซื้อ 100,000 ล้าน ถ้าบาทแข็งค่า ขึ้น 1 บาท จะกำไรเท่าไหร่
- ฝรั่งซื้อหุ้น (ดูกราฟ Fund Flow)
- ฝรั่งเขามาเที่ยวไทย
- ดุลการค้าไทยกลับมาเป็นบวก
ถ้าฝรั่งเข้าซื้อหุ้นกับ Bond เยอะๆ จะทำให้บาทแข็งแต่ถ้าบาทแข็งไม่ได้หมายความว่าฝรั่งจะซื้อหุ้น
ข้อดีของสถานะการแบบนี้จะทำให้ฝรั่งขายหุ้นไม่ง่าย จะได้กำไรจากค่าเงินบาทและกำไรจากหุ้นที่ฟื้นตัว
ดุลการชำระเงิน หมายถึง ผลสรุปของการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic transaction) ระหว่างผู้มีถิ่นฐานใน ประเทศ (Resident) กับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ (Nonresident) ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ประกอบด้วยดุล บัญชีเดินสะพัด (Current Account) และดุลบัญชีเงินทุน (Capital and Financial Account)
เราสามารถดูติดตาม ดุลการชำระเงินได้จาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=952&language=th
จากการติดตามดุลบัญชีเดินสะพัด หากเราเห็นว่าดุลการค้าเป็นบวกจะทำให้เกิดแรงกดดันที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) คือผลรวมสุทธิของดุลการค้า ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิและรายได้ทุติย ภูมิประกอบด้วย
1.1 ดุลการค้า (Trade Balance) คำนวณจากข้อมูลการส่งออก-นำเข้าที่ได้รับจากกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง เป็นรายเดือนในรูปของแฟ้มข้อมูล
ดุลการค้า คือ ผลต่างสุทธิระหว่างมูลค่าสินค้าออก เอฟ โอ.บี (ราคาที่ไม่รวมค่าระวางและประกันภัยสินค้า) กับมูลค่าสินค้าเข้า เอฟโอ.บีที่ได้ปรับตามคำนิยามของ ดุลการชำระเงิน ตามคู่มือการจัดทำสถิติดุลการชำระเงินฉบับที่ 6 (BPM6) ของกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศแล้ว
1.2 ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ (Services, Primary Income, & Secondary Income) เป็นผลรวมสุทธิของ
ดุลบริการ (Services) เป็นผลสุทธิระหว่างรายรับและรายจ่ายของบริการระหว่างประเทศ ประกอบด้วยค่า ขนส่ง ค่าท่องเที่ยว ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของภาคทางการ ค่าสื่อสารโทรคมนาคม ค่ารับเหมาก่อสร้าง ค่าลิขสิทธิ์/เครื่องหมายการค้า/สิทธิบัตร ค่าประกันภัย เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติมจาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/DownloadFile.aspx?file=EC_XT_046_TH.PDF
ข้อมูลเศรษฐกิจ การนำเข้า-ส่งออก https://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx